Brand Equity
Brand Equity Conceptual Framework
คุณค่าของตราสินค้า (Brand Equity)
มีความหมายจากการทบทวนวรรณกรรมว่า เป็นคำทางการตลาดที่สามารถอธิบายถึงคุณค่าของตราสินค้า คุณค่านั้นจะถูกกำหนดโดยการรับรู้และประสบการณ์ของผู้บริโภคกับที่เชื่อมโยงกับตราสินค้า ถ้าผู้บรโภคทุกคนคิดว่าตราสินค้านั้นเป็นแบรนด์ที่สูงด้วยคุณภาพและบริการหรือมีคุณค่าของตราสินค้าในเชิงบวก บริษัทฯ สามารถคิดค่าบริการเพิ่มเติมในคุณค่าของตราสินค้านั้นได้
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Brand Equity ที่มีพื้นฐานจาก The Aaker Model ส่วนใหญ่แล้วสามารถนำมาสรุปเป็น Conceptual Framework ดังนี้
คุณค่าของตราสินค้า (Brand Equity)
มีความหมายจากการทบทวนวรรณกรรมว่า เป็นคำทางการตลาดที่สามารถอธิบายถึงคุณค่าของตราสินค้า คุณค่านั้นจะถูกกำหนดโดยการรับรู้และประสบการณ์ของผู้บริโภคกับที่เชื่อมโยงกับตราสินค้า ถ้าผู้บรโภคทุกคนคิดว่าตราสินค้านั้นเป็นแบรนด์ที่สูงด้วยคุณภาพและบริการหรือมีคุณค่าของตราสินค้าในเชิงบวก บริษัทฯ สามารถคิดค่าบริการเพิ่มเติมในคุณค่าของตราสินค้านั้นได้
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Brand Equity ที่มีพื้นฐานจาก The Aaker Model ส่วนใหญ่แล้วสามารถนำมาสรุปเป็น Conceptual Framework ดังนี้
ปัจจัย 5 ประการที่ส่งผลถึงโดยตรงถึง คุณค่าของตราสินค้ากล่าวคือ
1. สิ่งที่เชื่อมโยงต่อตราสินค้า (Brand Association) อันหมายถึงสิ่งใด ๆก็ตามที่ ผู้บริโภคได้รับรู้แล้วส่งผลต่อความคิดของผู้บริโภคในทันทีถึงตราของสินค้า เช่น สัญลักษณ์ กิจกรรม บุคคล2. ตระหนักรู้ต่อตราสินค้า (Brand Awareness) หมายถึง เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคได้รับรู้ เช่น การได้ยิน ได้เห็นตราสินค้าแล้ว ผู้บริโภคสามารถจินตนาการได้ทันทีถึงคุณภาพ และ บริการที่จะได้รับ3. ความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Royalty) หมายถึง ไม่ว่าบริษัทจะนำเสนอ ผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อหรือรับบริการนั้น เพราะคาดว่าจะได้รับสินค้าและ บริการที่ดี จากตราสินค้านั้น โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าที่ถูกนำเสนอโดยสินค้าอื่น4. คุณภาพที่รับรู้ได้ (Perceived Quality) ผู้บริโภคสามารถรับรู้ถึงคุณภาพได้ทันที เมื่อคิดถึงตราของสินค้า5. สินทรัพย์ของตราสินค้าในกรรมสิทธิ์อื่น (Other Proprietary Brand Assets) เป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมที่แฝงในมูลค่าตราสินค้าและสามารถนำมาแปลงเป็น มูลค่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ช่องทางการตลาดอื่นๆ
โดยปัจจัยทั้ง 5 ประการเป็นตัวแปรต้น และคุณค่าของตราสินค้าเป็นตัวแปรตาม
1. สิ่งที่เชื่อมโยงต่อตราสินค้า (Brand Association) อันหมายถึงสิ่งใด ๆก็ตามที่ ผู้บริโภคได้รับรู้แล้วส่งผลต่อความคิดของผู้บริโภคในทันทีถึงตราของสินค้า เช่น สัญลักษณ์ กิจกรรม บุคคล2. ตระหนักรู้ต่อตราสินค้า (Brand Awareness) หมายถึง เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคได้รับรู้ เช่น การได้ยิน ได้เห็นตราสินค้าแล้ว ผู้บริโภคสามารถจินตนาการได้ทันทีถึงคุณภาพ และ บริการที่จะได้รับ3. ความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Royalty) หมายถึง ไม่ว่าบริษัทจะนำเสนอ ผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อหรือรับบริการนั้น เพราะคาดว่าจะได้รับสินค้าและ บริการที่ดี จากตราสินค้านั้น โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าที่ถูกนำเสนอโดยสินค้าอื่น4. คุณภาพที่รับรู้ได้ (Perceived Quality) ผู้บริโภคสามารถรับรู้ถึงคุณภาพได้ทันที เมื่อคิดถึงตราของสินค้า5. สินทรัพย์ของตราสินค้าในกรรมสิทธิ์อื่น (Other Proprietary Brand Assets) เป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมที่แฝงในมูลค่าตราสินค้าและสามารถนำมาแปลงเป็น มูลค่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ช่องทางการตลาดอื่นๆ
โดยปัจจัยทั้ง 5 ประการเป็นตัวแปรต้น และคุณค่าของตราสินค้าเป็นตัวแปรตาม
ที่มา: ร่มโพธิ์ สุวรรณิก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น